ความสัมพันธ์ของ บราห์มา กุมารี กับ UN เป็นเช่นไร?
บราห์มา กุมารี ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ ภูเขาอาบู ประเทศอินเดีย ประกอบด้วยเครือข่ายของศูนย์การเรียนรู้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก มากกว่า 110 ประเทศ และเป็นองค์กรเอกชนระดับนานาชาติ (NGO) ซึ่งองค์การสหประชาชาติให้การรับรองโดยสภาคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (ECOSOC) นอกจากนั้นยังร่วมงานกับแผนกเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลขององค์การสหประชาชาติด้วย (DPI) และที่ปรึกษากับกองทุนเด็กขององค์การสหประชาชาติ (UNICEF) มีสถานภาพทางกฎหมายในการร่วมสังเกตการณ์กับสมัชชาด้านสิ่งแวดล้อมของสหประชาชาติ เป็นองค์กรสังเกตการณ์ ให้กับสหประชาชาติตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) กรรมการนำด้านการศึกษาสำหรับประชาชนในชนบทห่างไกล (ERP) และองค์การอาหารและการเกษตร (FAO)
ความสัมพันธ์ของ บราห์มา กุมารี กับ UN ดำเนินมายาวนานเพียงไร?
บราห์มา กุมารี เข้าร่วมงานกับแผนกข้อมูลข่าวสาร (DPI) ในปี ค.ศ. 1980 และ คณะมนตรีเศรษฐกิจ และสังคม ขององค์การสหประชาชาติ (ECOSOC) ในปี ค.ศ. 1983 องค์กรยูนิเซฟ ปี คศ. 1987 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC ) ในปี คศ. 2009 และ สมัชชาสิ่งแวดล้อม (UNEP) ในปี คศ. 2014
บราห์มา กุมารี มีเป้าหมายและลักษณะของการศึกษาอย่างไร
To clarify spiritual and moral perspectives on issues of personal, community and global concerns; to facilitate a greater awareness of corresponding rights and responsibilities; to foster sustainable human-centred development, the support of economic, social, environmental and human well-being; and the promotion of gender equality.
บราห์มา กุมารี สนับสนุน การดำเนินงานของ UN อย่างไร?
การร่วมประชุมกับองค์การสหประชาชาติ การประชุมกับกรรมการเตรียมความพร้อม คณะกรรมาธิการ ในด้าน การนำเสนอ และการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเจ้าภาพการจัดกิจกรรมคู่ขนาน การทำงานร่วมกับคณะกรรมการองค์กรเอกชน และการประชุมของพรรคการเมือง
ในหลายปีที่ผ่านมา บราห์มา กุมารี ร่วมการประชุมกับ UN เรื่องอะไรบ้าง
ในช่วงปี 80 บราห์มา กุมารีริเริ่มโครงการเข้าถึงพื้นที่ รวมทั้งโครงการล้านนาทีแห่งสันติ และโครงการร่วมมือกันสร้างสรรค์โลก
ในช่วงปี 90 บราห์มา กุมารีได้ร่วมการประชุมระดับโลกกับองค์การสหประชาชาติเกือบทุกการประชุม ซึ่งได้แก่
การประชุมสัมมนาวิชาการและการประชุมสุดยอดด้านความสูงวัย การพัฒนาที่ยั่งยืน
การประชุมสุดยอดของโลก ด้านสังคมข่าวสาร สตรี สังคมพลเมือง งานที่มีคุณค่า สิทธิมนุษยชน และการพัฒนาสังคม
การประชุมสัมมนาด้านการต่อต้านการเหยียดผิว การแบ่งแยกชนชาติ การเกลียดกลัวชาวต่างชาติ และการอดกลั้น การพำนักอาศัยของมนุษย์ ผู้นำทางศาสนา และจิตวิญญาณ สุขภาพและเยาวชน
ปี 2000 บราห์มา กุมารี มุ่งเน้นไปที่ เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ
ปี 2010 บราห์มา กุมารี มุ่งเน้นไปที่สิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วม ในกิจกรรมดังนี้ การประชุมด้านสิ่งแวดล้อมขององค์การสหประชาชาติ (UNFCCC)
ร่วมประชุมในช่วงเวลาของจัดทำคำชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร การจัดกิจกรรมคู่ขนาน และการแสดงนิทรรศการ ในเรื่อง
· การประชุมองค์กรที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ (COP 16) เดือนพฤศจิกายน/ธันวาคม 2010 ที่เมือง คันคุน ประเทศเม็กซิโก
· การประชุมองค์กรที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ (COP17) เดือนพฤศจิกายน/ ธันวาคม 2011 ที่เมือง เดอบาน ประเทศอัฟริกาใต้
· การประชุมองค์กรที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ (COP18) เดือนพฤศจิกายน/ ธันวาคม 2012เมืองโอฮา โอตาร์
· การประชุมองค์กรที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ (COP19) เดือนพฤศจิกายน 2013 ที่เมืองวาร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์
· การประชุมภูมิอากาศโลกของเยาวชน (COY 9) เดือนพฤศจิกายน 2013ที่เมืองวาร์ซอว์ ประเทศโปแลนด์
· การประชุมองค์กรที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ (COP20) เดือนธันวาคม 2014 ที่เมืองลิมา ประเทศเปรู
การประชุมของสหประชาชาติเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน (RIO+20) ได้แก่
· ร่วมประชุมการเตรียมความพร้อมระดับภูมิภาค สำหรับประเทศกลุ่มลาตินอเมริกา และแคริเบียน ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อัฟริกาและประเทศเกี่ยวข้องและยุโรป
· การประชุม RIO+20 ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน วันที่ 20-22 มิถุนายน 2012 ริโอ บราซิล คำประกาศเป็นลายลักษณ์อักษร กิจกรรมคู่ขนาน และนิทรรศการ
· การประชุมสุดยอด Rio+20 วันที่ 15-23 มิถุนายน 2012 Rio Brazil การปฏิบัติการและนิทรรศการ
การประชุมของภาคี อนุสัญญา ความหลากหลายทางชีวภาพ ประกอบด้วย
· การประชุมองค์กรที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ (COP11) ตุลาคม 2012 ที่ไฮเดอราบัด อินเดีย
การประชุมองค์กรที่เกี่ยวข้องของสหประชาชาติ (COP12) ตุลาคม 2014 ที่เปียงยาง เกาหลีใต้มีโครงการพิเศษอะไรบ้าง ที่บราห์มา กุมารี ดำเนินการ เพื่อช่วยนำเสนอรายการต่างๆ ของ UN สู่สาธารณชนทั่วโลก
บราห์มา กุมารี ได้ริเริ่ม และนำโครงการระดับโลกไปดำเนินการ เพื่อช่วยยกระดับการตระหนักรู้ของนัยสำคัญขององค์การสหประชาชาติต่อชีวิตของผู้คน:
- ล้านนาทีแห่งสันติ: Million Minutes of Peace Appealจัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ปีสันติภาพสากล ปีค.ศ. 1986.ศูนย์บราห์มากุมารีใน 7 ประเทศได้รับรางวัลสื่อสันติภาพสำหรับความช่วยเหลือที่สำคัญของพวกเขา
- ร่วมกันสรรสร้างโลก: Global Co-operation for a Better World เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้นตามมาจากงานที่ทำในปี ค.ศ.1986 ของสื่อสันติภาพ ซึ่งขยายตัวไปถึงผู้คนใน 129 ประเทศ ด้วยการถามพวกเขาถึงภาพของโลกที่ดีขึ้น ความคิดเห็นที่ได้รับจากโครงการได้รวบรวมไว้ในหนังสือ “Visions of a Better World(ภาพโลกที่ดีขึ้น)” (Brahma Kumaris World Spiritual University, 1993)
- ให้คุณค่าแก่กันเพื่อสร้างสรรค์โลก: Sharing Our Values for a Better World, รายการที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่การครบรอบ 50 ปีขององค์การสหประชาชาติ โดยขอให้ผู้คนระบุคุณค่าที่มีความหมายมากที่สุดต่อชีวิตของผู้คนที่อยู่ในประเทศของตน หนังสือชื่อ
- Living Values: A Guidebook (คุณค่าเพื่อชีวิต)” (BKIS, 1995). อุทิศให้กับ 50 ปีขององค์การสหประชาชาติ
- ทศวรรษนานาชาติเพื่อวัฒนธรรมสันติภาพและความไม่ก้าวร้าวรุนแรง: International Decade for a Culture of Peace and Non-Violence มหาวิทยาลัยได้ลงนามข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนกับ UNESCO และได้รับการแต่งตั้งให้เป็น “สื่อสันติภาพสำหรับคำประกาศปี 2000,มหาวิทยาลัยรวบรวมการลงนามในคำสัญญา กว่า 37ล้านคน ที่จะนำหลักการของคำประกาศปี 2000 ไปปฏิบัติ นอกจากนั้นยังจัด “รายการสำคัญ” และรายการอื่นๆ ใน 51 ประเทศ รวมทั้งการสัมมนาและการประชุมเชิงปฏิบัติการจำนวนมากมาย เพื่อส่งเสริมหลักการและคุณค่าต่างๆ ที่เป็นฐานของวัฒนธรรมสันติภาพ
กิจกรรมใดบ้างที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนโปรแกรมขององค์การสหประชาชาติ
• วันสตรีสากล (8 มีนาคม)
• วันแห่งความสุขสากล (20 มีนาคม)
• วันสุขภาพโลก (7 เมษายน)
• วันสิ่งแวดล้อมโลก (5 มิถุนายน)
• วันแห่งความสงบสากล (21 กันยายน )
• วันเยาวชนสากล (12 สิงหาคม)
• วันผู้สูงอายุสากล (1 ตุลาคม )
• วันแห่งการปราศจากความรุนแรง (2 ตุลาคม)
• วันสหประชาชาติ (24 ตุลาคม)
• วันแห่งความอดทนสากล (16 พฤศจิกายน)
• วันแห่งการระลึกถึงผู้เสียชีวิตจากการจราจร (อาทิตย์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน)
• วันสิทธิมนุษยชน (10 ธันวาคม)
สัปดาห์ความกลมเกลียวระหว่างนานาศาสนา (1-7 กุมภาพันธ์)
สัปดาห์ด้านความปลอดภัยทางถนน
แห่งสหประชาชาติ (23-29 เมษายน)
ทศวรรษ ได้แก่
• ทศวรรษการพัฒนาที่ยั่งยืนถ้วนหน้าแห่งสหประชาชาติ (2014-2024)
• ทศวรรษการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางถนนแห่งสหประชาชาติ (2011-2020)
• ทศวรรษความหลากหลายทางชีวภาพแห่งสหประชาชาติ (2011-2020)
• เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ
• การส่งเสริมความทัดเทียมทางเพศและการเสริมพลังอำนาจในเยาวชนสตรีผ่านสำนักงานคณะกรรมการสถานะของสตรี
• การริเริ่มอย่างกว้างขวางทั่วโลกในมิติด้านจิตวิญญาณของการทำงานที่มีคุณค่า โดยการสนับสนุนขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ
• งานวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
• การลดอัตราตายของเด็กและการพัฒนาสุขภาพมารดาโดยโรงพยาบาลและศูนย์วิจัยระดับโลก
• คุณค่าของการดูแลสุขภาพ: การใช้แนวทางทางจิตวิญญาณในบุคคล และโปรแกรมการพัฒนาทีมงานในบุคลากรสุขภาพ ภาคีพันธมิตรของมูลนิธิแจงกี เพื่อการดูแลสุขภาพโลก (insert link to http://www.jankifoundation.org/).
• การสนทนาเรื่อง..เสียงเรียกของกาลเวลา.. ซึ่งจัดเป็นประจำที่ออกฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ด้วยการรวมตัวกันของผู้นำเยาวชนที่เป็นตัวแทนจากหลากหลายสาชาวิชาชีพและหลากหลายประเด็น สาระร่วมกันคือการทำความเข้าใจต่อเกลียวคู่ที่สัมพันธ์กันระหว่างความเป็นจิตวิญญาณกับเรื่องราวทางโลก
• พลังแห่งอนาคต – บทสนทนาพิเศษเพื่อการทำความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการเปลี่ยนผ่านพลัง และผลกระทบ ต่อภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21
facebook: www.facebook.com/BKUN.org
twitter: @bkunorg